วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2560

ค่านิยมของสังคมไทย


👉ลักษณะค่านิยมของสังคมไทย 👈

Image result for ค่านิยมสังคมไทย

     สภาพของสังคมไทยในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ตามสภาพของสิ่งแวดล้อมและกาลเวลา มีการติดต่อค้าขาย สัมพันธ์ทางการทูตกับทางประเทศ มีทุนให้ครูอาจารย์ไปดูงานต่างประเทศ การช่วยเหลือทางด้านเทคโนโลยีแก่สถาบันการศึกษา ทำให้มีการพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรืองมากขึ้น
     ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ค่านิยมตลอดจนประเพณีวัฒนธรรมของสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพของ
✅สังคมไทยด้วยดังนี้
 1.ยึดถือในพระพุทธศาสนา เช่นเดียวกับในอดีต มีการศึกษาพระธรรมวินัยอย่างลึกซึ่ง ตลอดจนมีการปรับปรุงแก้ไขกฎเกณฑ์ ข้อบังคับของสงฆ์ ประชาชนมีบทบาทตรวจสอบพฤติกรรมทางวินัยสงฆ์ได้ เพื่อป้องกันปัญหา การแสวงหาผลประโยชน์จากพุทธศาสนา
2.เคารพเทิดทูนพระมหากษัตริย์ สังคมไทยต่างจากสังคมชาติอื่น กษัตริย์ไทยเปรียบเสมือนสมมติเทพ คอยดูแลทุกข์สุขของ ประชาชนทำนุบำรุงประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรื่องในทุกด้าน จึงเป็นศูนย์รวมจิตใจ
 3.เชื่อในเรื่องของเหตุผล ความเป็นจริง และความถูกต้องมากขึ้นกว่าใน ปัจจุบันสังคมไทยปลูกฝังให้คนไทยรู้จักคิดใช้ปัญญามีเหตุผล มากขึ้นเช่น ได้ออกกฎหมายเพื่อให้ความคุ้มครองเจ้าของความคิด ไม่ใครลอกเลียนแบบได้เรียกว่า "ลิขสิทธิ์ทางปัญญา” เป็นต้น
4.ค่านิยมในการให้ความรู้ การจะพาตนเองให้รอดจากปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมได้จำเป็นต้องมีความรู้ความสามารถที่โดดเด่นจึงเป็นสิ่งที่คนไทยในสังคมปัจจุบันต้องเสาะแสวงหา
5.นิยมร่ำรวยและมีเกียรติ เพราะมีความเชื่อที่ว่าเงินทอง สามารถบันดาลความสุขตอบสนองความต้องการของคนได้ ขณะเดียวกันก็จะมีชื่อเสียงเกียรติยศตามมา
6.มีความเชื่อมั่นตนเองสูง เพื่อปลูกฝังให้เยาวชนไทยทุกคนกล้าตัดสินใจและกล้าแสดงออกทางความคิดและการกระทำ มีบุคลิกภาพเหมาะสมที่จะเป็นผู้นำที่ดี
7.ชอบแก่งแยงชิงดีชิงเด่น ลักษณะกลัวการเสียเปรียบ กลัวสู้เพื่อไม่ได้ เพื่อการอยู่รอดจึงต้องกระทำการแย่งชิง แสวงหาผลประโยชน์ให้ตนเอง
8. นิยมการบริโภคของแพง เลียนแบบอย่างตะวันตก รักความสะดวกสบาย ใช้จ่ายเกินตัวเป็นการนำไปสู่
การมีหนี้สินมากมาย
9.ต้องทำงานแข่งกับเวลา ทุกวันนี้คนล้นงาน จึงต้องรู้จักกำหนดเวลา การแบ่งแยกเวลาในการทำงาน การเดินทางและการพักผ่อน ให้ชัดเจน
10.ชอบอิสระ ไม่ชอบอยู่ภายใต้อำนาจใคร ไม่ชอบการมีเจ้านายหลายคน ในการทำงานมักประกอบอาชีพอิสระ เปิดกิจการเป็นของตนเอง
11.ต้องการสิทธิความเสมอภาคระหว่างหญิงชายเท่าเทียมกัน หญิงไทยในยุคปัจจุบันจะมีความคล่องแคล่ว สามารถบริหารงานได้เช่นเดียวกับผู้ชายเป็นที่พึ่งของครอบครัวได้ ภรรยาจึงไม่ใช้ช้างเท้าหลังต่อไป
12. นิยมการทดลองอยู่ด้วยกันก่อนแต่งงาน ซึ่งการเลียนแบบวัฒนธรรมตะวันตกที่มีความเจริญทางวัตถุมากกว่าทางจิตใจ ผู้ใหญ่ควรทำตน เป็นตัวอย่างที่ดีแก่เยาวชน เหมาะสมกับศีลธรรมจรรยา
13. นิยมภาษาต่างประเทศ เพราะต้องใช้ในการติดต่อสื่อสารทางธุรกิจและ เทคโนโลยีสมัยใหม่ ๆ ตำราหรืออินเตอร์เน็ตมีความจำเป็น ต้องรู้ทางภาษาต่างประเทศ หากไม่มีก็
ยากต่อการศึกษาและนำไปใช้
     ค่านิยมทั่วไปของสังคมไทย มีทั้งดีและไม่ดี ซึ่งแล้วแต่ทัศนคติของแต่ละกลุ่มบุคคลหรือ กลุ่มคนตามโอกาสหรือวาระต่าง ๆ หากสิ่งใดที่เราเห็นว่าไม่ดีควรหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติ สิ่งใดเห็นว่าดีเป็นประโยชน์แก่
✅สังคมเราก็ควรปฏิบัติเพื่อเสริมสร้างสังคมให้ดีขึ้น ค่านิยมทั่วไปของสังคมไทยมีดังนี้
1. ความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริ
2. เลื่อมใสศรัทธาในพระพุ
3. นับถือเงินตรา ยึดมั่นในเงินทองสิ่งของมากกว่าความดี ให้ความยกย่องต่อผู้มีอำนาจ
4. ขาดระเบียบวินัย เช่นคำพูดที่ว่า "ทำอะไรตามใจคือไทยแท้”
5. เคารพผู้อาวุโส ยกย่องผู้มีความรู้
6. รักความสนุก ชอบความสบาย รักความอิสระ ไม่ชอบขัดใจใคร
7. มีความกตัญญูรู้คุณ รักพวกพ้อง มีความเอื้เฟื้อเพื่อแผ่
8. ไม่ตรงต่อเวลา ชอบผัดผ่อนเลื่อนเวลา
9. ขาดความอดทน ขาดความกระตือรือร้น เชื่อโชคลาง อยากรวย ชอบเล่นการพนัน
10. ชอบงานพิธี สอดรู้สอดเห็น ลืมง่าย ชอบนับญาติ
11. ชอบโฆษณา ชอบของแจกของแถม เห็นใครดีกว่าไม่ได้
12. ชอบต่อรอง ชอบผูดหรือบอกเล่าเกินความจริง

✅ค่านิยมสังคมเมือง 
1. ชอบหรูหรา ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
2. นิยมสินค้า Brand name จากต่างประเทศ
3. ยกย่องผู้มีอำนาจเงินทอง
4. นิยมในเรื่องวัตถุ
5. เห็นแก่ตัว มีการแข่งขันกันมาก
6. เชื่อในเรื่องหลักการเหตุผล
7. ชอบเสี่ยงโชค
8. ร่วมงานหรือพิธีกรรมทางศาสนาน้อย 
9. ชีวิตอยู่กับเวลา แข่งขันกับเวลา
10. ขาดความมีระเบียบวินัย
11. ไม่ชอบเห็นใครเหนือกว่า เห็นแก่ตัว

Image result for ค่านิยมของคนไทย

✅ค่านิยมสังคมชนบท 
1. ประหยัด อดออม เศรษฐกิจพอเพียง
2. นิยมภูมิปัญญาไทย สิ้นค้าไทย
3. ยกย่องคนดี ความมีน้ำใจ
4. นิยมเรื่องคุณงามความดี มีจริยธรรม
5. เสียสละ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เห็นแก่ส่วนรวม
6. เชื่อโชคลาง ไสยศาสตร์
7. ชอบเล่นการพนัน
8. ชอบทำบุญ ร่วมพิธีกรรมทางศาสนามาก
9. ชีวิตขึ้นอยู่กับธรรมชาติ อาศัยธรรมชาติ
10. พึ่งพาอาศัยกันและกัน
11. มีความสันโดษ พอใจในสิ่งที่มีอยู่

✅ค่านิยมทางสังคมมีส่วนร่วมส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าแก่สังคมได้ จึงควรปลูกฝังให้มี 
ขึ้นในสังคม โดยค่านิยมพื้นฐานนั้น คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติได้ประกาศใช้เพื่อปลูกฝัง แก่ประชาชนชาวไทยเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2525 มีดังนี้
1. การพึ่งพาตนเอง ขยันมั่นเพียร และมีความรับผิดชอบ เพื่อให้การดำเนินชีวิตเป็นไปอย่างราบรื่น
2. การประหยัดและอดออม ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินส่วนตัวหรือส่วนรวมก็ตาม
3. การมีระเบียบและเคารพกฎหมาย ควรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพื่อควมสงบสุขในสังคม
4. การปฏิบัติตามคุณธรรมของศาสนา คือ การทำความดีละเว้นความชั่ว
5. ความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ โดยการแสดงออกด้วยการกระทำ เช่น เสียภาษีให้รัฐ เคารพกฎหมายปฏิบัติตามหลักของศาสนา เคารพเทิดทูนปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่ให้ใครมาทำลาย
ค่านิยมที่ควรแก้ไขในสังคมไทย
ค่านิยมของสังคมไทยนั้นไม่ใช้ว่าจะก่อให้เกิดผลดีต่อสังคมทั้งหมดดังที่ได้กล่าวมาแล้ว เพราะ ค่านิยมที่ไม่ควรยกย่องที่เกิดขึ้นในสังคมก็ยังมีอยู่มาก ซึ่งถ้าคนในสังคมปฎิบัติยึดถือ ย่อมก่อให้เกิด ผลเสียต่อสังคมนั้น ๆ ได้ดังนั้น ค่านิยมดังกล่าวจึงเป็นสิ่งที่ควรแก้ไข ซึ่งมีดังนี้
1. ให้ความสำคัญกับวัตถุ หรือเงินตราย่อมก่อให้เกิดผลเสียได้รับการดูถูกดูแคลน เป็นที่รังเกลียดต่อสังคม
2. ยึดถือในตัวบุคคล ยกย่องผู้มีอำนาจ มีเงิน
3. รักพวกพ้อง รักความสนุกสนาน ความสบาย
4. รักความหรูหรา ฟุ่มเฟือย นิยมใช้สิ้นค้าแพง
5. ไม่ตรงเวลา ขาดระเบียบวินัย ขาดความกระตือรือร้นและความอดทน
6. เชื่อเรื่องโชคลาง อำนาจเหนือธรรมชาติ ชอบเล่นการพนัน
7. ขาดความเคราพผู้อาวุโส
8. นับถือวัตถุมากกว่าพระธรรม ทำบุญเอาหน้า หวังความสุขในชาติหน้า
9. นิยมตะวันตกลืมภาษาไทย ซึ่งเป็นภาษาของชาติื จนทำให้ภาษาไทยผิดเพี้ยน
10. พูดมากกว่าทำ หน้าใหญ่ใจโต สอดรู้สอดเห็น เห็นใครดีไม่ได้
     ค่านิยมเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาได้เช่นเดียวกับความเชื่อ ซึ่งแตกต่างกันไปตามสังคมและวัฒนธรรม ส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ปฎิบัติอยู่ก็ควรจะระลึกไว้ว่า สิ่งใดดี สิ่งใดเหมาะสม ในสภาพสังคม ปัจจุบันเราจึงควรเลือกให้ได้ว่าค่านิยมใดคือค่านิยมที่ดีและควรปฎิบัติ ถ้าเด็กหรือเยาวชนในวันนี้เป็นผู้ที่มีคุณค่า มีปัญญา เป็นผู้มีคุณธรรมและสติปัญญาในทางที่ถูกต้องสังคมไทยจะได้ผู้ใหญ่ที่ดีในอานาคต ดังนั้น การอบรมเยาวชนให้เป็นคนดีสามารถปฎิบัติได้ดังนี้
1. สถาบันครอบครัวสามารถปลูกฝังค่านิยมที่ดีให้เยาวชนได้ โดยพ่อแม่ ผู้อบรมเลี้ยดูต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกเพื่อให้เขาเติบโตมาอย่างมีคุณภาพทั้งร่างกายและจิตใจ
2. สถาบันการศึกษา ให้การอบรมสั่งสอนในด้านความรู้ คิดเป็น ทำเป็น มีคุณธรรม จริยธรรม โดยครูต้องเป็นแบบอย่างที่ดีต่อศิษย์ เพื่อสร้างเขาให้เป็นคนดี
3. การปลูกฝังทั้ง 2 สถาบัน นอกจากจะอบรมสั่งสอนและเป็นแบบอย่างที่ดีแล้ว ควรปลูกฝังให้เยาวชนรู้จักใช้สติปัญญาในการแก้ไขปัญหาด้วยเหตุผลแห่งความถูกต้อง เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการปฎิบัติ ที่ว่าสิ่ง ที่ตนได้ปฎิบัตินั้นเป็นสิ่งที่ดีถูกต้อง

Image result for ค่านิยมของคนไทย

วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2560

ครูบ้านนอก

ครูบ้านนอก


ครูบ้านนอก เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2521 กำกับโดยสุรสีห์ ผาธรรม เป็นภาพยนตร์สะท้อนปัญหาสังคมในชนบทภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื้อเรื่องเกี่ยวกับครูหนุ่มสาวที่เพิ่งจบใหม่จากวิทยาลัยครู และเดินทางไปสอนหนังสือในถิ่นทุรกันดาร ขาดไฟฟ้า แหล่งน้ำ และการสาธารณสุข แสดงให้เห็นวิถีการดำเนินชีวิตความเป็นอยู่แบบเก่าของชาวชนบทในภาคอีสาน และปัญหาความขัดแย้งกับผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่น
ภาพยนตร์ถ่ายทำที่บ้านดอนเมย ตำบลนาจิก อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันคือจังหวัดอำนาจเจริญ) ที่เป็นบ้านเกิดของคำหมาน คนไค เจ้าของบทประพันธ์  โดยสมมุติเป็น "บ้านหนองหมาว้อ" ใช้นักแสดงหน้าใหม่ทั้งหมด เข้าฉายครั้งแรกวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2521 ที่โรงหนังศาลาเฉลิมไทย  ภาพยนตร์ประสบความสำเร็จ ได้รายได้ถึง 9 ล้านบาท  ได้รับความชื่นชมจากนักวิจารณ์ และถูกนำไปฉายยังต่างประเทศ ได้รับรางวัลภาพยนตร์สร้างสรรค์ และรางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยม จากประเทศรัสเซีย 
ในปี พ.ศ. 2552 สุรสีห์ ผาธรรมได้นำภาพยนตร์กลับมาสร้างใหม่โดย สหมงคลฟิล์ม นำแสดงโดย พิเชษฐ์ กองการ ฟ้อนฟ้า ผาธรรม และหม่ำ จ๊กมก ออกฉายในวันครู 14 มกราคม พ.ศ. 2553  ใช้ชื่อภาพยนตร์ว่า ครูบ้านนอก บ้านหนองฮีใหญ่ 

เนื้อเรื่อง

ในงานเลี้ยงส่งนักศึกษาในวิทยาลัยครูแห่งหนึ่ง ทุกคนสนุกสนานกับการสังสรรค์จากการจัดงานอำลาสถานบันจากวงดนตรีสมัยใหม่ ในขณะที่ ครูปิยะ เดินเลี่ยงออกจากงานมายืนชมนิทรรศการวิถีชีวิตของชาวอีสานอย่างสนใจ นับเป็นแรงบันดาลใจให้เขาตัดสินใจสอบบรรจุเป็นเพื่อรับราชการครูที่ภาคอีสาน โดยบรรจุครั้งแรกที่โรงเรียนบ้านหนองหมาว้อ พร้อมกับ ครูดวงดาว หญิงสาวรูปร่างบอบเบา และ ครูพิสิษฐ์ ครูหนุ่มมาดสำอางค์ โดยมี ครูคำเม้า เป็นครูใหญ่โรงเรียนบ้านหนองหมาว้อมีเพียงอาคารเรียนชั่วคราวชั้นเดียวพื้นติดดิน นักเรียนต้องเรียนรวมกันโดยไม่มีการแบ่งกั่นห้องเป็นพื้นที่เป็นสัดส่วนในแต่ละห้อง สภาพนักเรียนสวมเสื้อผ้าขาด ร่างกายมอมแมม ครูปิยะคือตัวแทนของหนุ่มสาวที่มีความมุ่งมั่นในอุดมการณ์เพื่อพัฒนาการศึกษาและสังคมไทยให้เจริญก้าวหน้า มีการนำความรู้ภูมิปัญญาการเล่านิทานในท้องถิ่นของ เคนคนผีบ้า ผู้เฒ่าแห่งหมู่บ้าน มาเป็นประยุกต์เป็นการสอนการท่องจำในชั้นเรียน
ในขณะที่ครูใหญ่คำเม้าครูรุ่นเก่าที่ทำหน้าที่สอนหนังสือโดยยึดหลักปรัชญา “เลข คัด เลิก” ส่วนครูพิสิษฐ์ครูหนุ่มเจ้าสำราญที่เคยใช้ชีวิตในสังคมเมืองที่ต้องจำใจมาสอบบรรจุครู ต่อมาครูพิสิษฐ์มีคำสั่งให้ย้ายไปสอนในเมืองเพราะมีเรื่องชกต่อยกับเจ้าหน้าที่ที่มาตรวจราชการที่โรงเรียนลวนลามครูดวงดาว ครูปิยะได้เก็บความสงสัยไว้ในใจเกี่ยวกับรถขนไม้ที่วิ่งผ่านเข้ามาในหมู่บ้าน เพราะครั้งหนึ่งเกิดเหตุการณ์ท่อนซุงขนาดใหญ่หล่นจากรถบรรทุกตกลงมาในสนามโรงเรียน ครูปิยะงพบว่าทั้งหมดเป็นไม้เถื่อน จึงแอบเข้าไปถ่ายรูปในปางไม้ของ นายมังกรผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่นเพื่อส่งข่าวไปให้หนังสือพิมพ์ จึงทำให้ครูปิยะต้องหนีภัยมืดออกจากบ้านหนองหมาว้อไปอาศัยอยู่กับหลวงตาอยู่ในเมือง แต่ด้วยอุดมการณ์และจิตสำนึกของความเป็นครู ครูปิยะจึงกลับคืนมาสอนที่โรงเรียนโรงเรียนบ้านหนองหมาว้ออีกครั้งท่ามกลางการต้อนรับของครูและนักเรียน เพียงแต่ครูปิยะขี่จักรยานเข้าสู่รั้วโรงเรียนเท่านั้นมือปืนได้ยิงปืนโดนสู่ร่างของครูปิยะจนจักรยานล้มลงสู่พื้นดิน ท่ามกลางความตกตะลึงของครูและนักเรียน จนครูปิยะได้เสียชีวิต สิ้นใจตาย